ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ข่าวประชาสัมพันธ์ความรู้ทั่วไปบทความสมุนไพรสุขภาพอาหาร

น้ำกระชายเสริมภูมิคุ้มกัน

(นายฐาปนิก  ผาสุกะกุล)
นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา

เรื่องโดย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

กระชายเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้เป็นอาหารและยามานาน ภูมิปัญญาพื้นบ้านใช้แก้โรคที่เกิดในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล รักษาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ไซนัสอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศชองเพศชาย ยาอายุวัฒนะบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้ลมวิงเวียนมีการศึกษาพบว่า สารสกัดของกระชายสามารถแสดงฤทธิ์ในการต้านไวรัสซาร์ส ในระยะหลังการติดเชื้อและยังพบว่าสารแพนดูราทิน (pan-duratin) ของกระชายขาวมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเชื้อเอดส์ ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family และยังยั้งเชื้อพิโคร์นาไวรัส (picornaviruses) ซึ่งก่อโรคมือเท้าปากนอกจากนี้ยังพบว่า ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในสัตว์ทดลองและในคนต่อไปหากประชาชนต้องการใช้กระชายในช่วงนี้สามารถใช้ในรูปแบบของอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันได้

สูตรน้ำ “กระชาย” เสริมภูมิคุ้มกัน

๑. กระชายสด ๒๐๐ กรัม

๒. ขิงสด ๕๐ กรัม

๓. ใบหูเสือ ๑๐ ใบ

๔. น้ำตาลทรายแดง ๑ กิโลกรัม

๕. น้ำสะอาด ๑ ลิตร

๖. มะนาว

๗. น้ำผึ้ง

๘. เกลือป่น

ขั้นตอนที่ ๑ เตรียมน้ำสมุนไพร

๑. ล้างกระชายและขิงให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นนำไปปั่นให้ละเอียด

๒. ต้มน้ำให้เดือด ใส่กระชายและขิงที่ปั่นละเอียดแล้ว ต่มเคี่ยวนาน ๑๕ นาที เติมน้ำตาลทรายแดง

ลงไปคนให้ละลาย จากนั้นตั้งทิ้งไว้ให้เย็น

๓. เตรียมน้ำคั้นหูเสือ โดยนำใบหูเสือ ๑๐ ใบ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วหั่นพอหยาบ ปั่นกับน้ำสะอาด ๒๐๐ มิลลิลิตร คั้นเอาแต่น้ำ

ขั้นตอนที่ ๒ ปรุงเครื่องดื่ม “กระชายช่วยชาติ”

๑. ตวงไซรัปกระชายและขิง ใส่แก้ว ๔๐ มิลลิลิตร (ผสมน้ำผึ้ง มะนาว เกลือตามชอบ)

๒. เติมน้ำแข็งให้เต็มแก้ว เติมโซดา ๘๐ มิลลิลิตร เติมน้ำคั้นใบหูเสือ ๒๐ มิลลิลิตร

๓. คนส่วนผสมให้เข้ากัน ดื่มเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรวันละ ๑-๒ ครั้ง

ข้อควรระวัง:

ไม่ควรบริโภคกระชายต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน อาจส่งผลให้เกิดอาการร้อนในหรือเป็นแผลในปากตามมา จากการศึกษาพบว่า การบริโภคกระชายมากๆ มีผลทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่นและเกิดภาวะใจสั่นได้ และไม่ควรใช้ในผู้ที่มีความผิดปกติของตับและไต หญิงตั้งครรภ์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *