วันศุกร์, กันยายน 20, 2024
Latest:
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ธรรมชาติบทความ

บทความ : แนวทางอนุรักษ์ดิน ตามพระราชดำริ

บทความวิชาการ เรื่อง แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรดินตามพระราชดำริ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ล้นเกล้าของชาวไทยมีแนวพระราชดำริที่สำคัญหลายโครงการในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน “ ทรงเป็นปราชญ์แห่งน้ำและดินแห่งโลก ” ปี 2013 (พ.ศ.2556) ที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติมีมติประกาศให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น “ วันดินโลก ” และในปี 2015 (พ.ศ.2558) กำหนดให้เป็น “ ปีแห่งดินสากล ” วันนี้มาต่อในเรื่องแนวพระราชดำริ “โครงการห่มดิน”

ดิน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต เพราะคนเราใช้ทรัพยากรดินเป็นทั้งที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งสร้างอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค แถมยังใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคจึงกล่าวได้ว่า ดินเป็นทรัพยากรขั้นมูลฐาน เป็นตัวการให้มนุษย์เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากทรัพยากรอื่น ๆ ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล

ดิน (Soil) ถือเป็นเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งเคียงคู่กับ “น้ำ” ในการทำเกษตร ต่อให้มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่มีดินที่เลว กล่าวคือ โครงสร้างแน่น อัดตัวเป็นก้อน ปราศจากซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช ก็เป็นการยากต่อการปลูกพืชไม่ว่าพืชชนิดใดๆ ดังนั้น การเกษตรที่ไม่ทำลายธรรมชาติ ไม่ทำลายดิน ไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อดิน และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงดิน เป็นหัวใจสำคัญที่จะรักษาดินเอาไว้ได้

วิธีปรับปรุงดินให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ โดยมีแนวพระราชดำริ ดังนี้

1. โครงการปลูกหญ้าแฝกช่วยการป้องกันการพังทลาย ของหน้าดินรักษาความชุ่มชื้นในดินเก็บกักตะกอนดินและสารพิษต่าง ๆ ไม่ให้ไหลลงในน้ำซึ่งจะอำนวยผลประโยชน์ อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำตลอดจน การฟื้นฟูดินและป่าไม้ให้สมบูรณ์ขึ้น

2. โครงการแกล้งดินเป็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวหรือดินที่เป็นกรดจัด เพื่อเปลี่ยนดินที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ให้สามารถพลิกฟื้นมาเป็นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกได้

3. การปลูกพืชขนานตามพื้นผิว (Contour farming) คือ การไถพรวน การลงเม็ด การเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวที่ทำขนานกับพื้นผิวดิน ซึ่งแนวทางนี้เป็นการอนุรักษ์หน้าดินจากการกร่อนได้ผลดีโดยการสำรวจ พบว่า พื้นทีที่ทำการเกษตรแบบการปลูกพืชขนานตามพื้นผิวนี้ มีปริมาณการไหลผ่านของน้ำท่า (Runoff) ต่ำกว่าการปลูกพืชแบบดั้งเดิม โดยการไหลผ่านของน้ำท่าในปริมาณสูงนั้น หมายถึงการกร่อนและการพัดพาตะกอนดินออกจากหน้าดินสูงนั้นเอง

4. โครงการห่มดิน การ “ห่มดิน” หรือ “คลุมดิน” โดยใช้ฟาง เศษหญ้า หรือใบไม้ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และใส่อาหารให้แก่ดินด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพลงไป   เพื่อให้อาหารแก่ดิน แล้วดินจะปล่อยธาตุอาหารให้พืชโดยกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์เรียกหลักการนี้ว่า “เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช”

By นางสาวกมลชนก ตะสาริกา นักวิชาการศึกษา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *