วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ความรู้ทั่วไปบทความภาวะโลกร้อน

เรื่อง ความจริงที่คุณอาจไม่รู้ของถุงผ้าและถุงพลาสติก

นางสาวปรางค์แก้ว แหลมสุข
นักวิชาการวิทยาศาสตร์ศึกษา

              ในปีที่ผ่านมา มีข่าวมากมายเกี่ยวกับผลกระทบของขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม สัตว์ทะเลมากมายที่ต้องตายเพราะพลาสติกที่กินเข้าไปการสูญเสีย “มาเรียม” พะยูนน้อยขวัญใจชาวไทย ก็มีเหตุจากการกินพลาสติกเป็นปัจจัยหนึ่ง รัฐบาลมีมาตรการเด็ดขาดในปี 2563 ยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ส่วนภาคเอกชนเองก็มีนโยบายงดแจกถุงในร้านสรรพสินค้า สนับสนุนให้ประชาชนใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ถุงพลาสติกนั้นดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าถุงผ้า เพราะพบว่าเมื่อเทียบกันแล้วนั้น ถุงผ้าส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้ถุงพลาสติก เราต้องใช้ถุงผ้าอย่างน้อย 131 ครั้ง เพื่อให้คุ้มค่าต่อการผลิตเมื่อเทียบกับการใช้ถุงพลาสติกครั้งเดียว ภาครัฐและเอกชนที่ให้ลดการใช้ถุงพลาสติกและหันมาใช้ถุงผ้าการประเมินวัฏจักรชีวิต ซึ่งจะเป็นการประเมินผลกระทบของวัตถุนั้นๆ ต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงชีวิตตั้งแต่กระบวนการผลิต การขนส่ง การใช้งาน การแปรรูปเพื่อใช้ใหม่ และการกำจัดหลังจากใช้งาน ในกรณีที่จะประเมินว่าวัตถุนั้นมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน ก็จะมีปัจจัยมากมายที่นำมาพิจารณา เช่น ปริมาณน้ำ-ไฟฟ้าที่ใช้และผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนในกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงที่ใช้ระหว่างการขนส่ง ความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมตอนกำจัด Carbon footprint ที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตและขนส่ง เป็นต้นต้นทางการผลิตถุงผ้านั้น ต้องใช้ฝ้ายหรือพืชที่ให้เส้นใยผ้าซึ่งต้องมีการใช้พื้นที่ไร่นาและน้ำมากมายในการผลิต บางพื้นที่มีการตัดต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่การผลิต เมื่อได้เส้นใยมาแล้วทอเป็นผ้าต้องใช้กระบวนการตัดเย็บ ฟอกสีที่ใช้ทั้งสารเคมีและน้ำจำนวนมาก รวมทั้งมีเศษผ้าเหลือจากการผลิตมากมาย และการขนส่งถุงผ้า 1 ล้านใบ ต้องใช้เชื้อเพลิงและปริมาณรถมากกว่า เมื่อเทียบกับการขนส่งถุงพลาสติกในจำนวนที่เท่ากัน ทุกสิ่งทุกอย่างใน  

              กระบวนการผลิตจึงถูกทำให้เกิดมูลค่าทั้งหมด รวมทั้งพลาสติกเอง นักวิชาการบางคนจึงมองว่า การผลิตพลาสติกนั้นดี เพราะแทนที่จะทิ้งทรัพยากรที่เหลือจากการกลั่นไป เอามาทำเป็นพลาสติกจึงดีกว่า เมื่อเรามองไปถึงจุดเริ่มต้นที่คนไทยรวมถึงคนทั้งโลกต้องการลดพลาสติก คือ การเห็นแพขยะพลาสติกขนาดใหญ่ที่ลอยอยู่ในเกือบทุกมหาสมุทร ขยะพลาสติกที่พบอยู่ในกระเพาะอาหารของโลมา วาฬ เต่าทะเลมากมายที่สังเวยชีวิตไป ทำให้เห็นว่าปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อม และผลกระทบของขยะพลาสติกต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ได้เป็นปัจจัยที่ถูกนำไปรวมในการประเมิน Life Cycle Assessment จึงเหมือนกับว่าเราและสถาบันการวิจัยนั้นมองทั้งนี้ ในฐานะผู้ที่ต้องใช้ถุงผ้า และถุงพลาสติกอย่างเรา ควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้สมดุลต่อการแก้ปัญหาขยะและปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ไม่ว่าคุณจะใช้ถุงผ้า หรือถุงพลาสติก ก็ต้องใช้ให้บ่อยและใช้ให้คุ้มค่า แม้แต่ถุงพลาสติกเองก็สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ถุงพลาสติกสามารถใช้ได้มากถึง 37 ครั้งก่อนที่เราจะทิ้งมัน เมื่อเปื้อนก็ล้างทำความสะอาด อีกทั้งถุงพลาสติกยังพกพาสะดวกและรับน้ำหนักได้มากกว่าตัวมันเองหลายเท่า ส่วนใครที่เลือกใช้ถุงผ้านั้น ก็ควรเลือกที่ไม่พิมพ์ลายมากเกินไป เพื่อลดของเสียและปริมาณการใช้สารเคมีเพื่อฟอกสีและพิมพ์ลาย พกถุงผ้าไปด้วยทุกครั้งที่ซื้อของ เมื่อมีถุงผ้าเยอะแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อถุงใบใหม่ทุกครั้งที่เจอ เพียงใช้ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าก็พอ ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติกหรือถุงผ้า จะคุ้มค่าการผลิตก็ต่อเมื่อคุณใช้มันบ่อยครั้งมากพอ เพียงเท่านี้ก็เป็นวิธีเล็กๆที่ทำให้เราเป็นส่วนหนึ่งของการลดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างภาคภูมิ

ที่มา: http://www.nsm.or.th/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *